ขั้นตอนการสร้างบ้าน เเละการก่อสร้างอาคารขนาดเล็ก


วัตถุประสงค์ในการเรียบเรียง: เพื่อนำเสนอ รูปแบบ, ลักษณะงานก่อสร้างที่มีมาตรฐานการก่อสร้าง งานบ้านหรืออาคารขนาดเล็ก

หากมีข้อสงสัย หรือขัดแย้งกันของแบบก่อสร้าง หรือแบบขาดหายไป หรือมิได้กำหนดไว้ในแบบก่อสร้าง ให้ผู้รับจ้างติดต่อปรึกษา สถาปนิกผู้ออกแบบ , วิศวกรผู้ออกแบบ, วิศวกรควบคุมงาน หรือผู้ว่าจ้างทำการแก้ไขก่อนที่จะดำเนินการก่อสร้างต่อไป อนึ่งในกรณีที่ไม่มีวัตถุหรืออุปกรณ์ที่กำหนดไว้ในแบบก่อสร้าง หรือที่ตกลงกันไว้ระหว่างผู้ว่าจ้างกับผู้รับจ้าง ตามรายการประกอบแบบ ให้ผู้ว่าจ้าง หรือผู้รับจ้าง จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติและคุณภาพการใช้งานเทียบเท่ากับวัสดุที่กำหนดไว้ในแบบก่อสร้างและรายการประกอบแบบ โดยผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างจะต้องแจ้ง สถาปนิกผู้ออกแบบ , วิศวกรผู้ออกแบบ, วิศวกรควบคุมงาน ทราบก่อนที่จะนำมาประกอบหรือติดตั้งในงานก่อสร้าง

รายละเอียดวัสดุก่อสร้าง
1. ไม้ หรือ วัสดุใดๆ ที่นำมาใช้ในการวางผังบริเวณ – ระดับ ต้องเป็นไม้ หรือ วัสดุที่มีคุณภาพในการอ้างอิง แนว หรือ ระดับในงานก่อสร้างได้ มาตรฐานงานและข้อกำหนด
2. ในการวางผัง และการทำระดับอ้างอิง ผู้รับจ้างจะต้องแจ้งให้ผู้ว่าจ้าง , ตัวแทนผู้ว่าจ้าง , วิศวกรควบคุมงาน ทำการตรวจสอบ ก่อนผู้รับจ้างจะดำเนินการก่อสร้าง
3. ในการวางแนว – ระดับ ต้องถูกต้องตามแบบก่อสร้าง

รายละเอียดวัสดุก่อสร้าง
1. ปูนซีเมนต์ ที่ใช้ในการผสมคอนกรีตสำหรับโครงสร้างหลัก กำหนดให้ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทที่ 1 (ตราช้าง , ตราเพชร , ตราทีพีไอแดง , ตราภูเขา , ตราดาวเทียม)
2. ทรายและหินต้องสะอาด ปราศจากสิ่งสกปรกเจือปน
3. น้ำที่ใช้ในการผสมคอนกรีต ต้องเป็นน้ำที่สะอาด ปราศจากสารต่างๆ
4. การใช้สารผสมเพิ่มเพื่อปรุงแต่งคุณภาพของคอนกรีต เช่น น้ำยากันซึม , สารเร่งการก่อตัว , สารหน่วง จะต้องใช้ในปริมาณและวิธีการตามที่บริษัทผู้ผลิตกำหนดไว้ และจะต้องได้รับความเห็นชอบจากวิศวกรผู้ควบคุมงานก่อนที่จะนำมาใช้งาน

1. งานคอนกรีต

1.1 การผสมคอนกรีต กำหนดให้ใช้อัตราส่วนโดยปริมาตรตามลักษณะของโครงสร้างต่อไปนี้ 1. สำหรับคานและพื้น ให้ใช้อัตราส่วน 1 : 2 : 3.5 (ปูนซีเมนต์ 1 ส่วน : ทรายหยาบ 2 ส่วน : หิน 3.5 ส่วน) 2. สำหรับเสา ให้ใช้อัตราส่วน 1 : 2 : 3 (ปูนซีเมนต์ 1 ส่วน : ทรายหยาบ 2 ส่วน : หิน 3 ส่วน)
1.2 กระบะผสมคอนกรีตมาตรฐาน ใช้ขนาด กว้าง x ยาว x สูง = 35.5 x 35.5 x 30 cm. ปริมาตร 0.038 ลบ.ม. เมื่อเทียบตวงปูนซีเมนต์แล้ว จะเท่ากับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทที่ 1 = 50 Kg.
1.3 ต้องบ่มคอนกรีตแล้วหลังเทคอนกรีตแล้ว 24 ชั่วโมง โดยการบ่มด้วยกระสอบและฉีดน้ำให้ชุ่มวันละ 2 ครั้ง หรือใช้พลาสติกห่อหุ้ม (บ่มอากาศ) , ทาหรือฉีดน้ำยาบ่มคอนกรีต โดยจะต้องใช้ในปริมาณและวิธีการตามที่บริษัทผู้ผลิตกำหนดไว้ และจะต้องได้รับความเห็นชอบจากวิศวกรผู้ควบคุมงานก่อน
การบ่มคอนกรีตโดยใช้น้ำยาคอนกรีต
1.4 การเทคอนกรีตโครงสร้างแต่ละประเภท ควรเทคอนกรีตจนต่อเนื่องจนแล้วเสร็จในคราวเดียว ถ้าต้องมีการหยุดเทคอนกรีตให้หยุดเทคอนกรีตได้ในตำแหน่งที่กำหนด
1.5 การหยุดเทคอนกรีต ให้หยุดเทคอนกรีตได้ในตำแหน่งที่กำหนดดังนี้ ฐานราก ห้ามหยุดเทคอนกรีตโดยเด็ดขาด เสา หยุดเทที่ระดับท้องคานที่เสารองรับและต้องเป็นแนวระดับหยุดเทที่ระดับท้องคาน คาน หยุดเทได้ที่กึ่งกลางคานและต้องตัด Joint เป็นแนวดิ่ง พื้น หยุดเทได้ที่กึ่งกลางพื้นและต้องตัด Joint ต้องเป็นแนวดิ่ง (ยกเว้น พื้นหล่อในที่ เช่น ห้องน้ำและพื้นระเบียง) บันได ในแต่ละช่วงห้ามหยุดเทคอนกรีตโดยเด็ดขาด
1.6 ก่อนการเทคอนกรีตโครงสร้าง ต้องได้รับการอนุมัติจากผู้ควบคุมงานก่อน
1.7 เนื้อคอนกรีต ต้องมีค่า Strength ไม่น้อยกว่า 152 Kcs.
1.8 เนื้อคอนกรีตต้องไม่เป็นโพรงจนเห็นเนื้อเหล็กเสริม
1.9 ก่อนการเทคอนกรีตต้องมีเครื่องเขย่าคอนกรีตที่มีสภาพพร้อมใช้งานทุกครั้ง

2. งานแบบหล่อคอนกรีต

2.1 วัสดุที่ใช้ทำแบบหล่อ ต้องเป็นวัสดุที่ไม่ผุ ไม่คดงอ มีผิวหน้าเรียบ
2.2 การประกอบแบบหล่อคอนกรีต ต้องมีขนาดตามลักษณะของโครงสร้างที่ถูกต้อง
2.3 ระยะเวลาในการถอดแบบโครงสร้าง ภายหลังจากการเทคอนกรีต มีกำหนดดังนี้

2.3.1. แบบข้างคาน 24 ชั่วโมง (สำหรับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทที่ 1)
2.3.2. แบบท้องคานและพื้น 7 วัน แต่ให้ค้ำยันต่อจบครบ 14 วัน (สำหรับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทที่ 1)
2.3.3. แบบเสา 24 ชั่วโมง (สำหรับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทที่ 1)

3. งานเหล็กเสริมคอนกรีต

3.1. เหล็กเสริมคอนกรีต ต้องเป็นเหล็กที่ ปราศจากสนิมขุม และไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อน
3.2. กำหนดขนาด เหล็กเสริมคอนกรีต
– เหล็ก RB 6 mm. SR 24.
– เหล็ก RB 9 mm. SR 24.
– เหล็ก DB 12 mm. SD 30.
– เหล็ก DB 16 mm. SD 30.
– เหล็ก DB 20 mm. SD 30.
– เหล็ก DB 25 mm. SD 30. เหล็กเส้นทุกขนาด มีมาตรฐานอุตสาหกรรม

งานเสาเข็ม
รายละเอียดวัสดุก่อสร้าง
1. เสาเข็มชนิดอัดแรง (Prestressed Concrete) หรือ แบบคอนกรีตเสริมเหล็ก (Pre – Load)
2. เสาเข็มทุกต้นต้องได้ตามมาตรฐาน ว.ส.ท. หรือ ม.อ.ก.
3. เสาเข็มจะต้องไม่แตกหัก , บิ่น หรือมีรอยร้าว , รูพรุน ซึ่งอาจมีผลกระทบกระเทือนต่อกำลังบรรทุกน้ำหนักของเสาเข็ม

มาตรฐานงานและข้อกำหนด
1. เสาเข็มทุกขนาด รับแรงอัดได้ไม่น้อยกว่า 280 Kcs.
2. เสาเข็มมีขนาดหน้าตัด , ความยาว ตรงตามที่กำหนดในแบบก่อสร้าง

หลังการตอกเสาเข็ม มีข้อกำหนดดังนี้
1. เสาเข็มที่ตอกเสร็จแล้ว จะต้องได้ระดับความลึกตามที่กำหนดในแบบก่อสร้าง ในกรณีควบคุมด้วย Blow – Count จะต้องได้ Blow – Count

การตรวจนับ Blow-Count
1. เสาเข็มที่ตอกเสร็จแล้วจะผิดศูนย์ได้ไม่เกิน 25 cm. หากเกินกว่านี้ ผู้รับจ้างจะต้องแจ้งวิศวกรควบคุมงานพิจารณาและอนุมัติการแก้ไข

งานฐานราก
รายละเอียดวัสดุก่อสร้าง
1. คอนกรีตหยาบใต้ฐานราก อัตราส่วนผสม 1 : 3 : 5 (ปูนซีเมนต์ 1 ส่วน : ทรายหยาบ 3 ส่วน : หิน 5 ส่วน)
2. คอนกรีตฐานราก อัตราส่วนผสม 1 : 2 : 4 (ปูนซีเมนต์ 1 ส่วน : ทรายหยาบ 2 ส่วน : หิน 4 ส่วน)
3. ทรายหยาบที่นำมาผสมต้องสะอาด ปราศจากสิ่งสกปรกอย่างอื่นเจือปน
4. น้ำที่นำมาใช้ในการผสมคอนกรีต ต้องสะอาดปราศจากสารต่างๆ
5. เหล็กเสริมคอนกรีตฐานราก ต้องมีลักษณะตามที่กำหนดในแบบก่อสร้าง

มาตรฐานงานและข้อกำหนด
1. ขนาดของฐานราก ต้องถูกต้องตามที่กำหนดในแบบก่อสร้าง
2. หัวเสาเข็มที่แตก , บิ่น ยังไม่ได้ระดับ ต้องทำการตบแต่งหัวเสาเข็มให้เรียบและได้ระดับตามที่กำหนดในแบบก่อสร้าง
3. หัวเสาเข็มจะต้องอยู่ในฐานรากไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร
4. เนื้อคอนกรีต ต้องไม่เป็นรูโพรงจนเห็นเนื้อเหล็กเสริม

งานเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก
รายละเอียดวัสดุก่อสร้าง
1. เหล็กเสริมคอนกรีต ใช้ขนาดและลักษณะตามที่กำหนดในแบบก่อสร้าง
2. คอนกรีต ใช้อัตราส่วนผสม 1 : 2 : 3

มาตรฐานงานและข้อกำหนด
1. เสาแต่ละต้น จะต้องมีขนาดและตำแหน่งตามที่กำหนดในแบบก่อสร้าง
2. แนวดิ่งของเสาจะต้องล้มดิ่งได้ไม่เกิน 1 cm. ต่อความยาว 1.00 m.
3. การต่อเหล็กเสา ให้ต่อที่โคนเสาบริเวณพื้นหรือหลังคาน โดยมีระยะทาบไม่น้อยกว่า 40 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางเหล็กเสริมแต่ต้องไม่น้อยกว่า 80 cm.

คานคอนกรีตเสริมเหล็ก
รายละเอียดวัสดุก่อสร้าง
1. เหล็กเสริมคอนกรีต ใช้ขนาดและลักษณะตามที่กำหนดในแบบก่อสร้าง
2. คอนกรีต ใช้อัตราส่วนผสม 1 : 2 : 3.5

มาตรฐานงานและข้อกำหนด
1. คานคอนกรีต ต้องมีขนาดและตำแหน่งตามที่กำหนดในแบบก่อสร้าง
2. เนื้อคอนกรีต ต้องไม่เป็นโพรงจนเห็นเนื้อเหล็กเสริม
3. ผิวคอนกรีตหลังคาน ต้องมีความเรียบและมีระดับที่ถูกต้อง
4. ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมงของการเทคอนกรีตโครงสร้าง ห้ามมีน้ำหนักบรรทุกโดยเด็ดขาด
5. การเจาะช่อง Sleeve สำหรับท่อประปาและท่อน้ำทิ้งผ่านคาน จะต้องมีเหล็กเสริมพิเศษ ตามที่กำหนดในแบบก่อสร้าง
6. การต่อทาบเหล็กเสริมบริเวณคาน ถ้าเป็นเหล็กบนให้ต่อทาบเหล็กเสริมบริเวณกลางคาน ส่วนเหล็กเสริมล่างให้ต่อทาบบริเวณริมเสาทั้งนี้การให้หลีกเลี่ยงการต่อทาบเหล็กในตำแหน่งเดียวกัน ถ้ามีความจำเป็นให้เพิ่มระยะต่อทาบอีก 1.5 เท่าของการต่อทาบปกติ โดยระยะต่อทาบเหล็กคานไม่น้อยกว่า 40 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางเหล็กแต่ต้องไม่น้อยกว่า 60 cm.

พื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก
ลักษณะและประเภทของพื้น แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
– พื้นหล่อกับที่
– พื้นสำเร็จรูป พื้นหล่อในที่

รายละเอียดวัสดุก่อสร้าง
1. เหล็กเสริมคอนกรีต ใช้ขนาดและลักษณะตามที่กำหนดในแบบก่อสร้าง
2. คอนกรีตใช้อัตราส่วน 1 : 2 : 3.5

มาตรฐานงานและข้อกำหนด
1. พื้นต้องมีระดับและมีความเรียบสม่ำเสมอในแนวราบ เช่น ไม่แอ่น , ไม่เอียง
2. เหล็กเสริมคอนกรีต ให้วางตามลักษณะที่กำหนดในแบบก่อสร้าง
3. สำหรับพื้นห้องน้ำ ต้องฝังท่อ Sleeve สำหรับท่อน้ำดี – ท่อน้ำเสียก่อนเทคอนกรีต
4. สำหรับพื้น On Ground จะต้องมีการบดอัดดินหรือทรายให้แน่นก่อนการเทคอนกรีต
5. สำหรับพื้น On Beam ที่เป็นพื้นระเบียง , พื้นห้องน้ำ ให้ผสมน้ำยากันซึมหรือตามที่กำหนดในแบบก่อสร้าง
6. หากผู้ว่าจ้างกำหนดให้มีการ ฉีดหรือรดน้ำยากันปลวก ให้ดำเนินการก่อนเทคอนกรีต
7. ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง หลังเทคอนกรีต ห้ามมีน้ำหนักบรรทุกโดยเด็ดขาด พื้นสำหรับสำเร็จรูประบบพื้นแผ่นเรียบอัดแรง

รายละเอียดวัสดุก่อสร้าง
1. พื้นคอนกรีตอัดแรง ขนาด กว้าง 0.30 cm. , 0.35 cm. มีลวด PC. Wire ไม่น้อยกว่า 5 เส้น 2. เป็นพื้นคอนกรีตอัดแรงที่มี ม.อ.ก. เช่น ผลิตภัณฑ์ของ ขอนคอนกรีต , แสงสว่างเสาปูน, ฯลฯ

มาตรฐานงานและข้อกำหนด
1. เรียงแผ่นพื้นแผ่นเรียบบนคาน ค.ส.ล. โดยให้ส่วนปลายของแผ่นพื้นทั้งสองด้าน วางบนคาน ค.ส.ล. รองรับอย่างน้อย 5 cm.
2. ถ้าแผ่นพื้นมีความยาวเกินกว่า 3.00 m. จะต้องมีค้ำยันชั่วคราว ตามแนวกึ่งกลางของความยาวแผ่นพื้น และสามารถใช้ค้ำยันให้เป็นประโยชน์ในการปรับระดับแผ่นพื้นให้เสมอกัน
3. การเรียงแผ่นพื้น หากมีช่องว่างเหลือ ควรใช้วิธีตั้งแบบเสมอท้องพื้นด้วยไม้อัดเรียบ แล้วเทคอนกรีตพร้อมเวลาเทคอนกรีตทับหน้าปรับผิวเรียบ (Topping) ใช้เหล็กตะแกรง ขนาด 6 mm. , หรือ เหล็กตะแกรงสำเร็จรูป ขนาด @ 0.25 cm. เทคอนกรีตทับหน้าหนา 4 cm.

งานโครงหลังคา
รายละเอียดวัสดุก่อสร้าง
1. เหล็กโครงหลังคา ต้องมีขนาดและลักษณะตามที่กำหนดในแบบก่อสร้าง
2. เหล็กโครงหลังคาต้องปราศจากสนิมขุม
3. สีกันสนิมโครงหลังคา ใช้ผลิตภัณฑ์ที่กำหนดในแบบก่อสร้าง
4. ไม้เชิงชาย เป็นไม้เนื้อแข็ง ใช้ขนาดและลักษณะตามที่กำหนดในแบบก่อสร้าง

มาตรฐานงานและข้อกำหนด
1. การต่อทาบเหล็กโครงหลังคา เหล็กที่นำมาต่อทาบต้องมีความยาวไม่น้อยกว่า 2 เท่าของความกว้างของเหล็ก
2. การวางจันทันที่คานหลังคา ให้วางตามตำแหน่งและยึดให้แน่นในลักษณะที่เรียบร้อย แข็งแรง
3. ต้องทาสีกันสนิมให้ทั่วตลอดทั้งตัวเหล็กโครงหลังคา
4. หลังจากติดตั้งเหล็กโครงหลังคา (ก่อนการมุงกระเบื้อง) ควรทำความสะอาดบริเวณแผลเชื่อม และทำการเก็บสีกันสนิม บริเวณรอยเชื่อมให้เรียบร้อยอีกครั้ง ซึ่งควรระวังสีหยดมาเปื้อนงานอื่น
5. ก่อนเริ่มงานมุงหลังคา ผู้รับจ้างต้องแจ้งให้ผู้ว่าจ้าง หรือตัวแทนของผู้ว่าจ้างทราบก่อน
6. หลังงานมุงหลังคาเสร็จแล้ว ผู้รับจ้างต้องแจ้งผู้ว่าจ้างให้ทราบ เพื่อทำการตรวจสอบอีกครั้ง
7. หลังงานมุงหลังคาเสร็จแล้ว ผู้รับจ้างต้องเก็บเศษวัสดุฯ ของงานกระเบื้องออกทันที เพื่อมิให้เป็นการกีดขวางงานอื่นที่จะดำเนินการต่อไป
8. ผู้รับจ้าง ต้องทำการทดสอบการรั่วซึมเบื้องต้น โดยการฉีดน้ำในบริเวณที่คาดว่าจะมีการรั่วซึม เช่น บริเวณตะเข้ราง หรือส่วนต่อระหว่างแผ่นกระเบื้อง
9. หากในแบบก่อสร้าง กำหนดให้มีรางน้ำฝน ให้ผู้รับจ้างดำเนินการติดตั้ง ให้เสร็จพร้อมงานหลังคา เพื่อที่จะได้ทำการทดสอบการไหลของน้ำไปพร้อมกัน
10. หากในแบบก่อสร้างหรือในสัญญาก่อสร้าง , ข้อกำหนดรายการวัสดุฯ กำหนดให้มีการทาน้ำยากันปลวกที่ไม้อุดหัวจันทัน (ไม้เนื้อแข็ง 2 x 4 นิ้ว) หรือส่วนอื่นส่วนใดที่เป็นไม้ ผู้รับจ้างต้องดำเนินการก่อนที่จะทำการติดตั้งฝ้าเพดานภายนอก

งานผนัง
รายละเอียดวัสดุก่อสร้าง
1. ปูนซีเมนต์ประเภทปูนซิลิก้า ที่ใช้ในการก่ออิฐ ให้ใช้ปูนซีเมนต์ซิลิก้า (ตราเสือ, ตรานกอินทรีย์, ตราทีพีไอเขียว, ตราดอกบัว, ตราจรวด,)
2. อิฐก่อจะต้องเป็นอิฐมอญ ไม่มีรอยแตกร้าว (นอกเหนือจากแบบกำหนดเป็นอย่างอื่น)
3. ทรายที่นำมาผสมต้องสะอาด ปราศจากสิ่งสกปรกอย่างอื่นเจือปน
4. น้ำที่ใช้ในการผสมต้องสะอาด ต้องเป็นน้ำที่ปราศจากสารต่างๆ
5. วัสดุผสมในปูนก่อ เช่น ปูนขาวหรือน้ำยาผสมปูนก่อ ให้ใช้ตามอัตราส่วนตามมาตรฐานของผู้ผลิต

มาตรฐานงานและข้อกำหนด
1. แนวการก่ออิฐ ต้องได้แนวดิ่งและแนวราบ, คดงอได้ไม่เกิน 1.5 cm.
2. ก่อนที่จะก่ออิฐจนถึงใต้ท้องคานหรือพื้น จะต้องเว้นช่องว่างไว้ประมาณ 10 cm. ทิ้งไว้ประมาณ 1 วันเพื่อให้ปูนก่อแข็งตัวแล้วจึงก่ออิฐชนท้องคานหรือพื้น
3. ผนังอิฐที่กว้างกว่า 4.00 cm. จะต้องมีเอ็นคอนกรีต ที่กึ่งกลางตลอดความสูงของกำแพง
4. ผนังอิฐที่สูงกว่า 2.00 cm. จะต้องมีเอ็นคอนกรีต ที่กึ่งกลางตลอดความยาวของกำแพง

งานเอ็น-ทับหลัง
รายละเอียดวัสดุก่อสร้าง
1. คอนกรีต ใช้อัตราส่วน 1:2:3.5 (ใช้ปูนซีเมนต์ซิลิก้า)
2. เหล็กเสริม ใช้ขนาด RB 6 mm. SR 24. จำนวน 2 เส้น และเหล็กปลอก ขนาด RB 6 mm. SR 24.ทุกระยะ 20 cm. หรือตามที่กำหนดในแบบก่อสร้าง

มาตรฐานงานและข้อกำหนด
1. ขนาดของทับหลัง-เสาเอ็น ต้องลึกไม่น้อยกว่า 8 cm. และมีความกว้างไม่น้อยกว่าแผ่นอิฐ
2. วงกบประตู-หน้าต่าง ต้องมีเอ็นทับหลังรัดรอบทุกวงกบ (ดูแบบ ขยายใน แบบ Shop Drawing)
3. ระดับของเอ็นใต้ท้องวงกบ ควรอยู่ต่ำกว่าระดับท้องวงกบประมาณ 3-5 cm.

งานติดตั้งลวดตาข่าย
รายละเอียดวัสดุก่อสร้าง
1. ติดตั้งลวดตาข่าย ขนาดตะแกรง 4-6 หุน สี่เหลี่ยม ขนาด ความยาวใช้งานจริง´0.15

มาตรฐานงานและข้อกำหนด
1. บริเวณมุมวงกบประตู-หน้าต่าง ต้องติดตั้งลวดตาข่าย
2. บริเวณท่อร้อยสายไฟในผนังตั้งแต่ 2 ท่อหรือมากกว่า ต้องติดตั้งลวดตาข่าย

งานฉาบปูน
รายละเอียดวัสดุก่อสร้าง
1. ปูนซีเมนต์ซิลิก้าที่ใช้ในการฉาบปูน ให้ใช้ (ตราเสือ , ตรานกอินทรีย์, ตราทีพีไอเขียว, ตราดอกบัว, ตราจรวด)
2. ทรายที่ใช้ผสมปูนฉาบ ต้องเป็นทรายละเอียดน้ำจืด
3. น้ำที่ใช้ผสมปูนฉาบ ต้องเป็นน้ำที่สะอาด ปราศจากสารต่าง 4. วัสดุผสมในปูนฉาบ เช่น ปูนขาวหรือน้ำยาผสมปูนฉาบ ใช้อัตราส่วนผสมตามมาตรฐานของผู้ผลิต

มาตรฐานงานและข้อกำหนด
1. ผนังปูนฉาบ ต้องได้ดิ่งและเป็นแนวตรงในแนวราบ
2. ผิวของปูนฉาบต้องเรียบสม่ำเสมอไม่เป็นคลื่น
3. บริเวณบล็อกสวิทซ์ไฟฟ้า ต้องตบแต่งปูนฉาบให้มีขนาดและลักษณะตามที่กำหนดในแบบ

แนวทางปฏิบัติ
1. ก่อนการฉาบปูน
– จับปุ่มหรือจับเฟี้ยม ให้ได้แนวดิ่งและแนวนอน
– ราดน้ำผนังให้ชุ่มอย่างน้อย 1 วัน
2. ขณะฉาบปูน
– ราดน้ำผนังให้ชุ่มอีกครั้ง
– ปูนฉาบภายใน ฉาบชั้นแรกด้วยปูนเค็ม (ทรายร่อน) และฉาบหน้าด้วยปูนจืด – ตบแต่งผิวหน้าให้เรียบ

งานกระเบื้องหลังคา
ประเภทของหลังคา
– หลังคากระเบื้องคอนกรีต
– หลังคากระเบื้องซีเมนต์ลอนคู่ , ลูกฟูกลอนเล็ก

1. หลังคากระเบื้องคอนกรีต
รายละเอียดวัสดุก่อสร้าง
1. กระเบื้องหลังคา ถูกต้องตามลักษณะที่กำหนดในแบบก่อสร้าง
2. กระเบื้องได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกระเบื้องคอนกรีตมุงหลังคา

มาตรฐานงานและข้อกำหนด
1. การมุงกระเบื้องคอนกรีตต้องยึดแผ่นกระเบื้องกับแปให้แน่น
2. ในกรณีที่มีปีก ค.ส.ล. ให้หล่อปี ค.ส.ล. ให้เสร็จในครั้งเดียวตลอดความยาว
3. การทำ ตะเข้รางน้ำ , ติดด้วยแผ่นปิดรอยต่อในบริเวณที่อาจจะมีการรั่วซึม

แนวทางปฏิบัติ
การเตรียมงานของผู้รับจ้างก่อนที่จะมุงหลังคา
1. ตรวจสอบระยะห่างของแปเหล็กให้ถูกต้องตามที่กำหนด
2. ตรวจสอบการติดตั้งไม้เชิงชาย, ปั้นลม, โครงไม้กระทงฝ้า ให้เสร็จเรียบร้อยก่อนการมุงหลังคา
3. ก่อนการมุงหลังคาให้ตรวจสอบสีกันสนิมที่โครงหลังคาให้เรียบร้อย
4. ตรวจการฉาบปูนส่วนที่อยู่เหนือหลังคาให้เรียบร้อยก่อนที่จะทำการมุงแผ่นกระเบื้อง
5. การยึดกระเบื้องต้องยึดแผ่นกระเบื้องแถวเว้นแถว
6. ปีก ค.ส.ล. ควรทาสีรองพื้น – สีจริงให้เสร็จก่อนงานมุงกระเบื้องหลังคา เนื่องจากสีอาจหยดถูกกระเบื้องหลังคา
7. ที่สำคัญที่สุด งานมุงกระเบื้องหลังคาคอนกรีต ถ้าหากติดคราบน้ำปูน ให้ทำความสะอาดทันที

ขั้นตอนการหล่อปีก ค.ส.ล.
1. ก่ออิฐจนถึงระดับที่จะหล่อปีก ค.ส.ล. แล้วหยุดก่อ
2. หล่อปีก ค.ส.ล. ให้เสร็จในครั้งเดียวตลอดความยาว ความหนาประมาณ 5-7 cm. ความกว้างประมาณ 20 cm. โดยให้ท้อง ค.ส.ล. อยู่สูงกว่าหลังแปประมาณ 5 cm.

งานกระเบื้องลอนคู่
รายละเอียดวัสดุก่อสร้าง
1. กระเบื้อง ลักษณะถูกต้องตามที่กำหนดในแบบก่อสร้าง
2. กระเบื้อง ได้มาตรฐานอุตสาหกรรม

มาตรฐานงานและข้อกำหนด
1. การยึดแผ่นกระเบื้องต้องยึดกับแปให้แน่น
2. ขนาดความหนาของกระเบื้องมี 2 ขนาด คือ ขนาดความหนา 4 mm. ขนาดความหนา 5 mm.
3. ขนาดความยาวของกระเบื้องมี 2 ขนาด 1.50 m.´1.20 mm. ขนาดความยาว 0.50 ´คือ ขนาดความยาว 0.50
4. การวางกระเบื้อง ควรวางให้ปลายซ้อนทับกันจนสนิท โดยดึงกระเบื้องตามความกว้างออกไปจนกระเบื้องซ้อนสนิทกันดีแล้วจึงเริ่มยึดกระเบื้อง
5. การตัดมุมกระเบื้อง ควรตัดมุมกระเบื้องในด้านกว้างระยะ 5 cm. และในระยะด้านยาวให้มีระยะเท่ากับระยะทับกัน ควรตัดมุมในด้านกว้างระยะ 9 cm. และในด้านยาวให้มีระยะเท่ากับระยะทับกัน
6. เมื่อทำการมุงกระเบื้องในส่วนที่กระเบื้อง 4 แผ่นรอบนอกทับกับกระเบื้องแผ่นใน 2 แผ่น จะต้องตัดมุมก่อน

คุณสมบัติครอบมุมกระเบื้อง
1. ครอบมุม ครอบมุมชนิดนี้ใช้สำหรับครอบแนวต่อกระเบื้องหลังคาที่เป็นมุม 10 องศา, 15 องศา, 20 องศา เท่านั้น ซึ่งต้องตรวจสอบมุมให้ได้ตามที่กำหนดในแบบก่อสร้าง
2. ครอบปรับมุม ครอบปรับมุม ใช้ในกรณีที่ไม่สามารถใช้ครอบมุมธรรมดาได้ แต่จะต้องมีมุมไม่ต่ำกว่า 10 องศา และมีคุณสมบัติในการปรับมุมได้ตามที่ต้องการ
3. ครอบเพิงแหงน ครอบเพิงแหงนเหมาะสำหรับใช้กับหลังคาประเภทเพิงแหงนทั่วไป เพื่อป้องกันน้ำฝนสาดเข้าด้านชายคาด้านบน
4. ครอบสามทางตัววายและตัวที ครอบสามทางตัววาย (Y) เหมาะสำหรับใช้ครอบทับนครอบปรับมุม และครอบตะเข้ ณ จุดที่มาพบกัน
5. ครอบตะเข้ ครอบตะเข้นี้ เหมาะสำหรับมุมหลังคาที่เป็นสัน เรียกว่าตะเข้สัน แบบหลังคาทรงเรือนปั้นหยาควรมุงครอบตะเข้ พร้อมไปกับการมุงกระเบื้อง เพื่อให้ได้แนวที่เรียบร้อย
6. ครอบประดับ ครอบประดับหลังคากระเบื้องใช้สำหรับปิดในส่วนที่ต้องการความสวยงาม เช่น ด้านข้างแนวชันของหลังคา หรือปิดจั่วด้านข้าง
7. ครอบข้างปิดชาย ครอบข้างปิดชายใช้ปิดที่ปลายสุดของปั้นลมหลังคาจั่ว ขนาดความยาว 0.60 cm.
8. ครอบปิดข้าง ครอบปิดข้าง ใช้ปิดที่ปั้นลม ช่วยปกป้องไม้ปั้นลมจากแดด ลม และฝน เล็ดลอดเข้ามาทางด้านข้างของหลังคาบ้านและเป็นการยืดอายุไม่ปั้นลมอีกด้วย ขนาดความยาว 0.60 cm.
9. ครอบปิดจั่วมุม ใช้ปิดทับครอบปิดข้างตรงแนวสันหลังคา โดยใช้ร่วมกับครอบมุม เพื่อให้หน้าจั่วดูมิดชิดเหมาะสำหรับหลังคาที่มีมุมลาด 10 องศา ,15 องศา และ 20 องศา
10. ครอบปิดจั่วปรับมุม ครอบปิดจั่วปรับมุม ใช้ปิดทับครอบปิดข้างตรงแนวสันหลังคา โดยใช้ร่วมกับครอบปรับมุม เหมาะสำหรับมุมลาดต่างๆนอกเหนือไปจาก 10 องศา,15 องศาและ 20 องศา

งานฝ้าเพดาน
1. ฝ้ากระเบื้องแผ่นเรียบ โครงคร่าวไม้ 11/2
2. ฝ้าไม้ระแนง ไม้ 11/2
3. ฝ้ายิบซั่มบอร์ดหนา 9 mm. โครงคร่าวอลูมิเนียม T-BAR
4. ฝ้ายิบซั่มบอร์ดหนา 9 mm. ฉาบเรียบปิดรอยต่อ โครงคร่าวโลหะชุบกันสนิม

มาตรฐานงานและข้อกำหนด
1. งานฝ้าเพดาน ต้องได้ระดับและไม่ตกท้องช้าง
2. การยึดโครงคร่าว ต้องแข็งแรงและ ใช้วัสดุตามที่กำหนดในแบบก่อสร้าง
3. การติดตั้งฝ้าเพดาน ต้องมีลักษณะที่ถูกต้องตามกรรมวิธีที่ถูกต้องตามชนิดของฝ้าแต่ละประเภท
4. ก่อนจะดำเนินการปิดแผ่นฝ้าต้องตรวจสอบโครงเหล็กหลังคา และระบบประปา-ไฟฟ้า ให้เรียบร้อยก่อน

งานประตู-หน้าต่าง
1. วงกบ
มาตรฐานงานและข้อกำหนด วงกบ ต้องมีขนาดและลักษณะตามที่กำหนดในแบบก่อสร้าง
1. ลักษณะของวงกบ ต้องไม่บิด ไม่คดงอ
2. วงกบ-หน้าต่าง ที่ชิดกับเสา ต้องตั้งห่างจากเสาประมาณ 5-10 cm.
3. อุดปูนช่องใต้วงกบให้แน่น ในลักษณะที่เรียบร้อย

งานบานประตู-หน้าต่าง
รายละเอียดวัสดุก่อสร้าง
1. บานประตูไม้อัด
2. บานประตูไม้จริง เป็นบานไม้เนื้อแข็ง , บานไม้สักและบานกระจกหรือตามที่กำหนดในแบบก่อสร้าง

มาตรฐานงานและข้อกำหนด
1. ลักษณะของใบบานต้องไม่โก่ง ไม่บิด ไม่งอ หรือมีตำหนิ
2. ใบบาน ต้องมีขนาดและลักษณะตาม ที่กำหนดในแบบก่อสร้าง งานอุปกรณ์ประตู-หน้าต่าง

รายละเอียดวัสดุก่อสร้าง
1. อุปกรณ์ประตู-หน้าต่าง ทุกชนิดต้องมีขนาดและลักษณะตาม ที่กำหนดในแบบก่อสร้าง
2. อุปกรณ์ประตู-หน้าต่างต้องติดตั้งให้ถูกต้องตามแบบก่อสร้าง
3. ไม่ควรเจาะรูกลอนทันที หลังจากติดตั้งใบบานเสร็จเรียบร้อยแล้ว
4. ต้องเตรียมพื้นผิวไม้ก่อนที่จะทาสีรองพื้นกันเชื้อรา ในกรณีที่แบบกำหนดให้ทาสีเคลือบน้ำมัน ยกเว้นถ้ากำหนดให้ทาสีธรรมชาติ ให้ทาแชลคใสเพื่อกันน้ำปูน ซึมเข้าผิวเนื้อไม้
5. การเจาะรู ลูกปิดประตู ถูต้องตาม ที่กำหนดในแบบก่อสร้าง
6. สำหรับ ประตูบานเปิดออกภายนอก ต้องมีกลอนอย่างน้อย 1 ชุด
7. บานเปิดภายนอก ถ้าแบบกำหนดให้เป็นบานเปิดไม้อัดทาสี ต้องเป็นไม้อัด ชนิดกันน้ำ

งานประตู-หน้าต่างอะลูมิเนียม
รายละเอียดวัสดุก่อสร้าง ตามมาตรฐานประตู-หน้าต่างอะลูมิเนียมสำหรับอาคารที่สูงไม่เกิน 10 ชั้น หรือประตูที่ใช้ภายในอาคารจะเขียนข้อกำหนดไว้ว่า องค์ประกอบหน้าตัด (Section Aluminium) จะต้องคำนวณว่ารับแรงได้ไม่น้อยกว่า 100 กิโลกรัม/ตารางเมตร เพื่อความสะดวกในการประมาณราคาค่าก่อสร้างและตรวจเช็คงานสนาม ข้อกำหนดโดยสังเขปมีข้อกำหนดว่า ชุดบานเลื่อน ความหนาไม่น้อยกว่า 1-1.2 mm. ชุดช่องแสง ความหนาไม่น้อยกว่า 1-1.2 mm. ชุดบานสวิง ความหนาไม่น้อยกว่า 1.3-1.5 mm. ชุดบานเปิดและบานกระทุ้ง ความหนาไม่น้อยกว่า 1.3-1.5 mm. กำหนดกระจกหนา 5 mm., สีกำหนดในรายการก่อสร้าง

มาตรฐานงานและข้อกำหนด
1. ช่องผนังที่ก่ออิฐ-ฉาบปูนเสร็จแล้วต้องได้แนว ดิ่ง , ฉาบ
2. การติดตั้งวงกบอะลูมิเนียม ต้องมีการเจาะยึดที่ดี และได้ดิ่ง-ฉาก ตามที่กำหนดในแบบก่อสร้าง
3. หลังการประกอบติดตั้งเสร็จแล้ว ต้องอุดด้วย Silicone ที่สามารถกันน้ำซึมได้

งานท่อประปา
รายละเอียดวัสดุก่อสร้าง
1. ท่อ PVC. มี ม.อ.ก. ขนาดและลักษณะตามที่กำหนดในแบบก่อสร้าง
2. น้ำยาประสานท่อ กำหนดให้ใช้ยี่ห้อท่อน้ำไทยหรือเทียบเท่า
3. ท่อระบายน้ำ ใช้ตาม ที่กำหนดในแบบก่อสร้าง
4. บ่อพักน้ำใช้ตาม ที่กำหนดในแบบก่อสร้าง

มาตรฐานงานและข้อกำหนด
1. ต้องใช้วัสดุและอุปกรณ์ตาม ที่กำหนดในแบบก่อสร้าง
2. ท่อประปาต้องฝังในผนังก่ออิฐ ต้องเจาะและฝังในลักษณะที่เรียบร้อย
3. ก่อนงานฉาบปูน ต้องทดสอบแรงดันน้ำและการรั่วซึมของท่อน้ำดี-น้ำทิ้งก่อน

งานท่อระบายน้ำทิ้ง
1. ท่อระบายน้ำ ขนาด 8 นิ้ว มีบ่อพักทุกระยะ 6 เมตรหรือตาม ที่กำหนดในแบบก่อสร้าง
2. ระบบการติดตั้งท่อต่างๆ และรายละเอียดบ่อเกรอะ-บ่อซึมให้ปฏิบัติตาม ที่กำหนดในแบบก่อสร้าง

งานติดตั้งสุขภัณฑ์
รายละเอียดวัสดุก่อสร้าง
1. สุขภัณฑ์ทุกชนิด ต้องมีลักษณะตรงตาม ที่กำหนดในแบบก่อสร้าง
2. อุปกรณ์ประกอบร่วมกับสุขภัณฑ์ (Fitting) ต้องมีมาตรฐานอุตสาหกรรม

มาตรฐานงานและข้อกำหนด
1. สุขภัณฑ์ทุกชนิด การติดตั้งต้องให้ได้ระดับและมีตำแหน่ง ที่ถูกต้องตามแบบ
2. สายชำระทุกจุด จะต้องติดตั้ง STOP VALVE
3. การติดตั้ง สุขภัณฑ์ทุกชนิดต้องแข็งแรงไม่โยกคลอน
4. ก่อนการติดตั้งอ่างอาบน้ำ ต้องขัดมันที่พื้นก่อน (เพื่อป้องกันการรั่วซึมของน้ำ)
5. อุปกรณ์ ข่อต่อเชื่อม PVC.สำหรับ Fitting ข้อต่อ 4 หุนต้องเป็นเกลียวในทองเหลืองเท่านั้น

งานวัสดุปูพื้นผิว
รายละเอียดวัสดุก่อสร้าง
1. วัสดุปูพื้นผิว ให้ใช้ตามเกรด หรือตาม ที่กำหนดในแบบก่อสร้าง
2. ลักษณะ , ชนิด, สี ,ลาย ,รูปร่าง ต้องตรงตาม ที่กำหนดในแบบก่อสร้าง

มาตรฐานงานและข้อกำหนด
1. การปูกระเบื้องเคลือบเซรามิค, หินอ่อน (ผู้รับจ้างควรทำ Shop Drawing)
– เศษกระเบื้อง ซ้ายและ ขวา ต้องเท่ากัน และมากกว่าครึ่งแผ่นเสมอ
– ความกว้างของกระเบื้องไม่เกิน 5 mm.
– ร่องกระเบื้อง ต้องมีความสม่ำเสมอ และยาแนวในลักษณะที่เรียบร้อย
– การปูกระเบื้องห้องน้ำให้ยึดจากช่องวงกบของช่องแสง
2. การปูวัสดุพื้นผิว ต้องปูให้ได้ระดับในแนวราบ ,ไม่เป็นคลื่น
3. การปูไม้ปาร์เก้ ต้องไม่มีตำหนิ เช่น ไม้บิ่น, ไม่มีรอยร้าวต้องขัดผิวไม้ปาร์เก้ให้ได้ระดับ, เรียบไม่เป็นคลื่น

งานไฟฟ้า
รายละเอียดวัสดุก่อสร้าง
1. สายไฟฟ้า อุปกรณ์ ปลั๊ก ,สวิทซ์ ใช้ผลิตภัณฑ์ ตามที่กำหนดในแบบก่อสร้าง
มาตรฐานงานและข้อกำหนด
การฝังท่อร้อยสายไฟฟ้าในผนัง
1. การเดินท่อร้อยสายไฟฟ้า (ในผนัง) ต้องห่างจากริมเสาไม่น้อยกว่า 20 cm.
2. ท่อร้อยสายไฟฟ้า ที่ฝังในผนังมากกว่า 2 ท่อขึ้นไป ต้องติดตั้งลวดตาข่ายตลอดความยาว
3. ท่อสายโทรศัพท์ , ท่อสายทีวี ต้องไม่รวมอยู่ในท่อเดียวกับท่อร้อยสายไฟฟ้า

มาตรฐานงานและข้อกำหนด
การเดินสายไฟฟ้าลอย
1. ต้องได้แนวดิ่งกับกึ่งกลางของบล็อกหรือปลั๊กสวิทซ์ไฟฟ้า
2. ระยะของเข็มขัดรัดสายไฟฟ้าเดินลอย ต้องมีระยะห่างกันไม่เกิน 15 cm. เท่ากันตลอดทั้งแนว
3. การเดินสายไหลอยบริเวณที่ชนฝ้าและบริเวณบล็อกไฟฟ้า ให้เดินในลักษณะที่เรียบร้อย การเดินสายโทรศัพท์, สายทีวีให้เดินห่างสายไฟฟ้าอย่างน้อย 10 cm. ตู้แผงสวิทซ์ (LOAD CENTER) มีการแบ่งลักษณะการแบ่งแผงวงจรดังนี้
1. วงจรแสงสว่าง ขนาด 10 แอมป์
2. วงจรปลั๊ก ขนาด 15 แอมป์
3. วงจรแอร์ ขนาด 30 แอมป์
4. วงจรเครื่องทำน้ำอุ่น ขนาด 15 แอมป์
5. ตัวควบคุมแผงสวิทซ์ทั้งหมด ให้ใช้ตามมาตรฐานของการไฟฟ้านครหลวงหรือส่วนภูมิภาค

งานสี
รายละเอียดวัสดุก่อสร้าง
1. ให้ใช้ผลิตภัณฑ์ ที่กำหนดในแบบก่อสร้าง

รายละเอียดวัสดุก่อสร้าง
1. สีภายในและภายนอกในอาคารทั้งหมด ให้ใช้สีตามชนิดและผลิตภัณฑ์ที่กำหนดเท่านั้น
2. ชนิดและประเภทของสี
2.1 พื้นผิวปูน ให้ใช้ สีรองพื้นและสีทับหน้าตามลักษณะดังนี้
– ผนังภายนอกให้ทาด้วย สีน้ำพลาสติกชนิดทาภายนอก
– ผนังภายในให้ทาด้วย สีน้ำพลาสติกชนิดทาภายใน
2.2 พื้นผิวไม้ต่างๆ ให้ทาด้วย สีน้ำมัน, วานิช,หรือสีน้ำมันเคลือบ
2.3 พื้นผิวทั่วไปต้องทาสี อย่างน้อย 3 ครั้ง ดังนี้
– ทาสีรองพื้น 1 ครั้ง
– ทาสีจริง 2 ครั้ง
3. การผสมอัตราส่วนของสี ให้ผสมตามมาตรฐานของผู้ผลิตเท่านั้น

ปัญหาที่พบส่วนมากสำหรับการก่อสร้าง บ้าน-พักอาศัย โดยรวมแล้วการก่อสร้าง บ้านพักอาศัยหรือสิ่งปลูกสร้างใดๆ ผู้ว่าจ้างมักจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือต่อเติมในส่วนใดส่วนหนึ่งอยู่เสมอ บ้านเหมือนสิ่งหนึ่ง ที่จะต้องเติบโตและแก่เฒ่าชราไป ดังนั้นการต่อเติมบ้านเป็นเรื่องธรรมดาที่จะเกิดขึ้นได้ มีข้อคิดที่น่าสนใจว่าเมื่องจะลงมือก่อสร้างหรือต่อเติมบ้านจะทำอย่างไร อย่างแรก การวางแผน งบประมาณ ที่แน่นอน จงวางแผนการใช้เงินเพียง 70 % ของงบประมาณที่มีอยู่เพราะอาจจะพบกับปัญหางานก่อสร้างบานปลาย, งานเพิ่มเติมนอกเหนือจากแบบก่อสร้าง, การเปลี่ยนวัสดุที่อาจมีราคาแพงขึ้นตามสภาพเศฐษกิจที่มีแนวโน้มราคาวัสดุ จะเพิ่มสูงขึ้นทุกวัน

1. สิ่งแรกที่เจ้าของบ้าน ควรเลือกก่อนการสร้างบ้าน ,อาคาร ขอแนะนำว่าควรจะเลือกยี่ห้อสุขภัณฑ์ก่อนเป็นอันดับ เนื่องมาจากสุขภัณฑ์ในบ้านเรามีมากมายหลายหลากยี่ห้อ จุดหรือระยะการวางท่อ ก็แตกต่างกันไปด้วย ตามแต่บริษัทฯผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ ฉะนั้นควรเลือก ยี่ห้อ สุขภัณฑ์ ก่อนที่ผู้รับจ้างจะดำเนิน การเทคอนกรีตพื้นห้องน้ำ จะได้ไม่มีปัญหาเรื่องการรั่วซึม และการดำเนินการก่อสร้างล่าช้า
2. การจับเฟี้ยม , จับปุ่ม เป็นกรรมวิธีจัดเตรียมระดับ – ระยะแนวอ้างอิงก่อนการฉาบปูน