คำถามที่พบบ่อย (F.A.Q)

F.A.Q

ทำไมต้องเลือก บริษัทเจพีฯ

  • ทีมงานประกอบไปด้วย ทีมสถาปนิกเเละวิศวกรมืออาชีพมากไปด้วยประสบการณ์ เเละทีมช่างผู้ชำนาญงาน ที่จริงใจต่อลูกค้า
  • บริษัทไม่ใช้ผู้รับเหมาช่วง เราทำงานเองด้วยทีมงานที่มีศักยภาย(In house) เพื่อให้งานออกมาตรงตามแบบได้คุณภาพ หมดปัญหาเรื่องผู้รับเหมาทิ้งงาน
  • เป็นบริษัท(Turnkey)มีบริการครบทั้ง
    ออกแบบ เขียนเเบบ
    งานก่อสร้าง ทุกประเภท
    ตกเเต่งภายใน บิ้วอิน
    ควบคุมบริหารงานก่อสร้าง

    ลดขั้นตอนเเละปัญหาในการติดต่อ
  • ราคาค่าออกแบบเเละก่อสร้างไม่เเพง ไม่แอบแฝง
  • การว่าจ้างทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร เบิกจ่ายตามผลงานไม่เอาเปรียบลูกค้า
  • ทำงานเป็นขั้นตอนมีแผนงาน ยึดคุณภาพเเละระยะตามกำหนด

ราคาค่าบริการ ออกแบบ-เขียนเเบบ

  • บ้านพักอาศัย ราคาค่าออกแบบเริ่มต้น ตารางเมตรละ 250-500บาท
  • อพาร์ทเม้นท์,หอพัก ราคาค่าออกแบบเริ่มต้น ตารางเมตรละ 150-300บาท
  • โกงดังโรงงาน ร้านค้า อาคารพาณิชย์ ออฟฟิศสำนักงาน
    ติดต่อทีมงาน
  • โรงเเรม รีสอร์ท คอนโดมิเนียม ติดต่อทีมงาน
  • Interior Design เฟอร์นิเจอร์ บิ้วอิน ติดต่อทีมงาน
    หมายเหตุ 
    บริษัทสามารถออกแบบตามงบประมาณของลูกค้าได้
    เเบบรวมสถาปนิก วิศวกรเซ็นรับรอง รายละเอียดตามเงื่อนใขสัญญา
    ราคาค่าออกแบบ เขียนจะคืนให้ลูกค้าบางส่วนเมื่อทางบริษัทก่อสร้างงานนั้นๆ รายละเอียดติดต่อทีมงาน

ราคาค่าบริการในส่วนงานก่อสร้าง

  • ราคาค่าก่อสร้างบ้านพักอาศัย
    เริ่มต้นตารางเมตรละ13,500บาท
  • ราคาค่าก่อสร้างอพาร์ทเม้นท์ หอพัก
    เริ่มต้นตารางเมตรละ9,500
  • โกงดังโรงงาน ร้านค้า อาคารพาณิชย์ ออฟฟิศสำนักงาน
    ตามแบบ
  • โรงเเรม รีสอร์ท คอนโดมิเนียม ตามแบบ
  • Interior Design เฟอร์นิเจอร์ บิ้วอิน
    ตามแบบ
    **หมายเหตุ
    ราคาที่เเจ้งไปเป็นเเค่ราคาประมาณการเพื่อการตัดสินใจเท่านั้น 
    ราคาก่อสร้างจริงๆจะต้องดูจากเเบบ เเล้วถอดBOQ(คือ บัญชีแสดงปริมาณวัสดุ และ ปริมาณแรงงาน ประกอบกับราคาที่ใช้ในการก่อสร้างโดยละเอียด)เพื่อนำเสนอตามขั้นตอน

มีที่ดินขนาด100ตารางวา สร้างแบบอพาร์ทเม้นท์ได้ไหม

ก่อสร้างอพาร์ทเม้นท์ หรือสร้างหอพัก บนที่ดินขนาดประมาณ 100 – 150 ตารางวา ซึ่งถือว่าเป็นอพาร์ทเม้นท์ ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ธุรกิจสร้างหอพัก สร้างอพาร์ทเม้นท์ หรือสร้างห้องพักตามสถานที่ท่องเที่ยงต่างๆ เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าลงทุนและใช้เงินไม่มากก็สามารถเป็นเจ้าของตึกได้ ผู้ลงทุนอาจะมีที่ดินอยู่แล้ว หรือหาซื้อที่ดินใหม่ก็ตาม ขนาดและรูปร่างของที่ดินควรจะได้ฉาก หรือเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก็จะดีที่สุด รูปร่างที่ดินที่ไม่ได้ฉาก หรือเอียงเป็นสามเหลี่ยมชายธง จะทำให้เสียเศษพื้นที่ และจัดวางแปลนได้ยากขึ้น

ทีนี้มาดูกันว่าที่ดินขนาดนี้จะสร้างอพาร์ทเม้นท์ ได้จำนวนซักกี่ห้อง จะสร้างกี่ชั้นดี มีผลตอบแทนต่อเดือนเท่าไร ต้องใช้เงินค่าก่อสร้างประมาณเท่าไร ยกตัวอย่างเจ้าของที่ดินรายหนึ่งมีที่ดิน 100 ตารางวา หรือ 400 ตารางเมตร ( พื้นที่ 1 ตารางวา = 4 ตารางเมตร ) หน้ากว้างที่ดินประมาณ 12 เมตร ลึก 34 เมตร ติดถนนซอยกว้างตั้งแต่ 6 เมตรขึ้นไป หลังจากตรวจสอบสีจากผังเมืองแล้ว ก็ตรวจเช็คกับ พรบ.กฎหมายอาคารประกอบ ผู้ลงทุนจะสร้างได้ตั้งแต่ 1 ชั้น จนถึง อพาร์ทเม้นท์ 8 ชั้น หรือความสูงไม่เกิน 23 เมตร

สำหรับรูปแบบ อพาร์ทเม้นท์สำเร็จรูป มีให้เลือกตั้งแต่แบบอพาร์ทเม้นท์ 3 ชั้น แบบเม้นท์เมนต์4ชั้น แบบอพาร์ทเม้นท์5ชั้นไม่มีลิฟท์ แบบอพาร์ทเม้นท์ 5 ชั้นมีลิฟท์ แบบอพาร์ทเม้นท์6 ชั้น แบบอพาร์ทเม้นท์ 7 ชั้นแบบอพาร์ทเม้นท์ 8 ชั้น ขึ้นอยู่กับงบประมาณ และความกว้างยาวของที่ดินที่แตกต่างกัน หากที่ดินที่จะก่อสร้างอยู่ในทำเลที่เป็นย่านธุรกิจ ก็สามารถทำเป็น ธุรกิจอพาร์ทเม้นท์ได้ เพราะฉะนั้นธุรกิจ Service Apartment เป็นธุรกิจที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

บริการออกแบบอพาร์ทเม้นท์บน ที่ดินขนาดเล็กตั้งเเต่100 – 150 ตารางวา ติดต่อสอบถาม โทร 080-2976084, 084-6816316

บ้านเก่าต้องรื้อถอน

ตัวเลขการปลูกบ้านบนที่ดินของตนเอง เท่าที่เก็บตัวเลขจากสถิติของ “ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์” หรือ REIC (REAL ESTATE INFORMATION CENTER) ตั้งแต่อดีต จะเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ เฉพาะกรุงเทพและปริมณฑล ประมาณ 55,000 หน่วย เป็นตัวเลขที่หน่วยงานภาครัฐ เก็บจากบ้านเลขที่ของเจ้าของบ้านที่สร้างเสร็จแล้ว ป็นตัวเลขที่ประชาชนปลูกสร้างด้วยตนเองส่วนหนึ่ง และสร้างโดยเจ้าของโครงการส่วนหนึ่ง

แต่ปัจจุบันเราพบว่ามีตัวเลขที่ไม่มีหน่วยงานใดๆเก็บสถิติเลย คือ การปลูกสร้างบ้านใหม่บนที่ดินที่มีบ้านเดิมอยู่ (สร้างบ้านใหม่บนที่ดินเดิม) และยังพบว่าบรรดาบริษัทรับสร้างบ้านต่างๆ มีลูกค้าที่ให้ปลูกสร้างบ้านใหม่ทดแทนบ้านเดิมที่หมดสภาพ ทรุดโทรมเกินกว่าจะปรับปรุง ซ่อมแซมใหม่ และอีกสาเหตุหนึ่งที่สนับสนุนให้คนรื้อบ้านเดิม ถมดินสูงขึ้น และปลูกบ้านใหม่คือ การเทปรับถนน ซอยบริเวณหน้าบ้านให้สูงขึ้น จนในที่สุดเวลาฝนตก น้ำฝนได้ไหลเข้าไปท่วมในพื้นที่บ้านเดิมที่พักอาศัยอยู่

ผู้บริโภคเมื่อ 20 ถึง 30 กว่าปีก่อน สร้างบ้านไม้ หรือ ซื้อบ้านในโครงการบ้านจัดสรรยุคนั้นอยู่อาศัยมาจนฐานะมั่นคง ครอบครัวขยายใหญ่ มีสมาชิกเพิ่มขึ้น คนมีพฤติกรรมต้องมีห้องนอนส่วนตัวมากขึ้น ที่ดินมีราคาสูงขึ้น แหล่งชุมชนเจริญขึ้น ทำให้คนมีความรู้สึกผูกพัน กับสภาพแวดล้อมเดิม และด้วยสาเหตุทั้งหลายนี้เอง ทำให้มีการว่าจ้างปลูกสร้างบ้านหลังใหม่บนทำเลเดิม

ผู้เขียนขอแนะนำผู้อ่านทุกท่านว่า ไม่ควรรื้อถอนบ้านหลังเดิม ก่อนจะได้ผู้รับจ้างสร้างบ้านหลังใหม่ โดยประสบการณ์ผู้เขียน สามารถยกเหตุผลมาได้ดังนี้

1. เจ้าของบ้านว่าจ้างผู้รับเหมาที่รับซื้อบ้านเก่ามารื้อถอน โดยได้ค่าขายซากบ้านเป็นเงินจำนวนหนึ่ง ปรากฏว่าผู้รับเหมารื้อบ้านเก่า ถอดชิ้นส่วนที่มีราคาขายและขายได้ไปหมดแล้ว ซากบ้านบางส่วนไม่มีราคา ไม่คุ้มกับค่าแรงรื้อ ไม่คุ้มกับค่าขนย้ายออกไป เลยทิ้งงาน เจ้าของบ้านติดต่อกลับไปก็บ่ายเบี่ยง บางรายเปลี่ยนเบอร์โทรไปเลยก็มี พอผู้เขียนไปรับสร้างบ้านหลังใหม่ มีความจำเป็นต้องทุบรื้อซากโครงสร้างที่เหลืออยู่ กลับกลายเป็นว่าเจ้าของบ้านต้องจ่ายเงินมากกว่าที่เจ้าของบ้านได้รับจากผู้รับเหมารื้อในครั้งแรกเสียอีก

2. ให้ผู้รับจ้างสร้างบ้าน สำรวจตำแหน่งเสาของบ้านเดิมก่อนรื้อถอน เพราะหากเจ้าของบ้านได้รื้อถอนบ้านเดิมและถมที่ดินเรียบร้อยแล้ว การจะปลูกสร้างบ้านหลังใหม่นั้น อาจมีฐานรากของบ้านหลังใหม่ตำแหน่งตรงกันกับฐานรากเดิม หากไม่มีการสำรวจตำแหน่งฐานรากก่อนหน้า การจะปรับแก้ฐานรากและตำแหน่งเสาเข็มของอาคารอาจจะมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น สร้างปัญหาให้กับเจ้าของบ้านโดยตรง

โดยมากแล้วค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนอาคารจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ 5,000 ถึง 30,000 บาท ตามแต่ขนาดบ้านและความยากง่ายในการรื้อถอน ในบางครั้งเจ้าของบ้านอาจจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเลย หากผู้รับเหมารื้อถอนสามารถนำซากไปขายต่อได้ตามราคา

ทั้งนี้ เมื่อสำรวจบ้านเดิมเสร็จแล้ว จึงจะทำการออกแบบบ้านหลังใหม่ ตามความประสงค์ของเจ้าของบ้าน แล้วปรับแนวฐานรากไม่ให้ตรงกับฐานรากเดิม และเมื่อไปยื่นขออนุญาตปลูกสร้าง ควรจะดำเนินขออนุญาตรื้อถอนอาคารหรือบ้านหลังเดิมในเวลาเดียวกัน ณ ที่ทำการของราชการที่บ้านหลังนั้นสังกัดอยู่ การรื้อถอนอาคารที่มีบ้านเลขที่ ต้องขออนุญาตกับทางราชการด้วย ถ้าเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ในใบขออนุญาตต้องมีวิศวกรเป็นผู้ควบคุมงานการรื้อถอนด้วย

การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร

1. การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ต้องเตรียมหลักฐานดังนี้

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขออนุญาตและเจ้าของที่ดิน อย่างละ 1 ชุด
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาตและเจ้าของที่ดิน อย่างละ 1 ชุด
  • แบบก่อสร้างแผนผังและรายการประกอบแบบ อย่างละ 5 ชุด
  • สำเนาโฉนดที่ดินที่จะทำการก่อสร้าง จำนวน 1 ชุด (หรือเอกสารสิทธิ์อื่น ๆ)
  • สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท วัตถุประสงค์ ผู้มีอำนาจลงชื่อแทน นิติบุคคล ที่ขออนุญาตที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน

2. การเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องเฉพาะเรื่อง

  • หนังสือยินยอมจากเจ้าของที่ดิน (กรณีผู้ขออนุญาตมิได้เป็นเจ้าของที่ดิน)
  • หนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารชิดผนัง (กรณีใช้ผนังร่วมกัน)
  • หนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารชิดเขตที่ดิน (กรณีชิดเขตที่ดินข้างเคียง)
  • หนังสือรับรองผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม พร้อมสำเนาบัตรประจำตัว(กรณที่ีอยู่ในข่ายควบคุมตาม พ.ร.บ.วิศวกรรม และพ.ร.บ.วิชาชีพสถาปัตยกรรม)
  • รายการคำนวณ 1 ชุด (กรณีส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารก่อสร้างด้วยวัตถุถาวรและทนไฟเป็นส่วนใหญ่ หรืออาคารสาธารณะ อาคารพิเศษ)
  • แบบระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับบ้านพักอาศัย (ตามแบบมาตรฐานกรมโยธาธิการหรืออื่น ๆ )
  • หนังสือแสดงว่าคณะกรรมการการควบคุมการจัดสรรที่ดินพิจารณาให้ความเห็นชอบ
  • แผนผังโครงการจัดสรรที่ดินที่ได้รับอนุญาตแล้ว (กรณีอาคารเข้าข่ายการจัดสรรที่ดิน)
  • เตรียมแบบและใบอนุญาตเดิมที่ได้รับจากเทศบาลตำบลธัญบุรี จำนวน 1 ชุด (กรณีดัดแปลงอาคาร, ต่อเติมหรือต่ออายุใบอนุญาต)

3. การพิจารณา

  • ในการตรวจพิจารณารายละเอียดแบบแปลน เทศบาลอาจสั่งให้ผู้ขอใบอนุญาตแก้ไขเปลี่ยนแปลงผังบริเวณแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน หรือรายการคำนวณที่ได้ยื่นไว้ให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 และ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และแก้ไขเพิ่มเติมตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร(ฉบับ ที่ 2) พ.ศ. 2535 และกฎกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • อาคารประเภทควบคุมการใช้ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะต้องแจ้งกองช่างทำการตรวจสอบ เพื่อขอใบรับรองการใช้อาคารก่อนเปิดใช้อาคารหรือให้ผู้อื่นใช้
  • การขออนุญาตก่อสร้างตามมาตรา 39 ทวิ โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น จะต้องดำเนินการ
  • แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบตามแบบที่กำหนด พร้อมทั้งแจ้งข้อมูลและยื่นเอกสาร
    1. ชื่อผู้รับผิดชอบงานออกแบบอาคาร (วุฒิสถาปนิก) พร้อมสำเนาบัตรประจำตัว
    2.  ชื่อของผู้รับงานออกแบบและคำนวณอาคาร (วุฒิวิศวกร) พร้อมสำเนาบัตร ประจำตัว
    3.  ชื่อผู้ควบคุมงาน (ตามกฎหมายวิชาชีพสถาปัตยกรรม-วิศวกรรม พร้อมสำเนาบัตรประจำตัว)
    4.  แผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบ รายการคำนวณ
    5.  วันเริ่มต้น และวันสิ้นสุด การดำเนินการก่อสร้างอาคาร

4. ระยะเวลาในการพิจารณาในกรณีทั่วไป

  • อาคารพักอาศัยไม่เกิน 2 ชั้น ใช้เวลาในการพิจารณาไม่เกิน 20 วัน ไม่รวมระยะเวลาแก้ไขแบบแปลน
  • อาคารพาณิชย์ อาคารขนาดใหญ่ อาคารประเภทควบคุมการใช้ ใช้เวลาในการพิจารณา 33 วัน (ไม่รวมระยะเวลาแก้ไขแบบแปลน)
  • ยกเว้นในกรณีที่มีข้อขัดข้อง จะใช้เวลาพิจารณาตามที่ได้กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร

5. คำแนะนำในการขอรับอนุญาตเกี่ยวกับอาคาร (ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2528)

5.1 ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องแนบเอกสารเกี่ยวกับแผนผังบริเวณ แบบแปลนรายการประกอบแบบแปลน จำนวน 5 ชุด พร้อมกับคำขอ อาคารสาธารณะ อาคารพิเศษ หรืออาคารที่ก่อสร้างด้วยวัตถุถาวรและวัตถุทนไฟเป็นส่วนใหญ่ ต้องแนบรายการคำนวณ จำนวน 1 ชุด

5.2 เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตรวจพิจารณาแผนผังบริเวณ แบบแปลนรายการประกอบแบบแปลนและรายการคำนวณ (ถ้ามี) ถูกต้องแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบอนุญาตได้

5.3 อาคารประเภทควบคุมการใช้เมื่อทำการก่อสร้างเสร็จแล้ว ให้เจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคารยื่นคำขอใบรับรองต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น

5.4 ในกรณีที่เจ้าของอาคาร ประสงค์จะใช้อาคารเพื่อกิจการประเภทควบคุมการใช้ จะเปลี่ยนการใช้อาคารให้ยื่นคำขออนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคารนั้น

5.5 ในกรณีที่เจ้าของอาคารประสงค์จะดัดแปลงหรือใช้ที่จอดรถเพื่อการอื่นและก่อสร้างที่จอดรถแทนของเดิมให้ยื่นคำขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น

5.6 ผู้ได้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ให้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ

5.7 ในกรณีที่ใบอนุญาตหรือใบรับรองสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุด ให้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนใบรับรองจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบถึงการสูญหาย

5.8 ผู้ได้รับใบอนุญาต ผู้ใดประสงค์จะโอนใบอนุญาตก่อสร้างอาคารให้แก่บุคคลอื่น ให้ยื่นคำขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เมื่อเห็นเป็นการสมควร ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือแจ้งอนุญาตให้โอนใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอโอนใบอนุญาตได้

5.9 แผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน และรายการคำนวณต้องเป็นสิ่งพิมพ์ สำเนาภาพถ่ายหรือเขียนด้วยหมึก และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

– มาตราส่วน ให้ใช้มาตราเมตริก
– แผนผังบริเวณ ให้ใช้มาตราเมตริก
– แสดงขอบนอกของอาคารที่ขออนุญาตถึงขอบเขตของที่ดินทุกด้าน
– ระยะห่างระหว่างอาคารต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว และอาคารที่ขออนุญาตในขอบเขตของ ที่ดิน
– ลักษณะและขอบเขตของที่สาธารณะพร้อมด้วยเครื่องหมายทิศ
– ให้แสดงทางระบายน้ำออกจากอาคารไปสู่ทางระบายน้ำสาธารณะ พร้อมทั้งแสดงเครื่องหมายชี้ทิศทางน้ำไหลและส่วนลาด
– แสดงระดับของพื้นชั้นล่างของอาคารและความสัมพันธ์กับระดับทาง หรือถนนสาธารณะที่ใกล้ที่สุดและระดับพื้นดิน
– ให้แสดงแผนผังบริเวณที่จะทำการเคลื่อนย้ายอาคารไปอยู่ในที่ใหม่ให้ชัดเจน
– แบบแปลนให้ใช้มาตราส่วนไม่เล็กกว่า 1 ใน 100 โดยต้องแสดงแปลนพื้นรูปด้าน (ไม่น้อยกว่า 2 ด้าน) รูปตัดขวาง รูปตัดทางยาว ผังคานรับพื้นชั้นต่างๆ และผังฐานรากของอาคาร พร้อมด้วยรายละเอียด
– แบบแปลน ต้องมีรูปรายละเอียดอย่างชัดเจนเพียงพอที่จะพิจารณาตามกฎหมาย
– แบบแปลน สำหรับการดัดแปลงอาคารให้แสดงส่วนต่าง ๆ ของอาคารที่จะก่อสร้างให้ชัดเจน
– แบบแปลน สำหรับการดัดแปลงอาคารให้แสดงส่วนที่มีอยู่เดิมและส่วนที่จะดัดแปลงให้ชัดเจน
– แบบแปลน สำหรับการรื้อถอนอาคาร ให้แสดงขั้นตอนวิธีการตลอดจนความปลอดภัยในการรื้อถอนอาคาร
– แบบแปลน สำหรับการเคลื่อนย้ายอาคาร ให้แสดงขั้นตอน วิธีการ ความมั่นคงแข็งแรง ตลอดจนความปลอดภัยในการเคลื่อนย้ายอาคาร
– สำหรับอาคารที่มีรูปตัดทางขวางหรือรูปตัดทางยาวของอาคาร มีความกว้าง ความยาว หรือความสูงเกิน 90 เมตร แบบแปลนจะใช้มาตรา ส่วนเล็กกว่า 1 ใน 100 ก็ได้ แต่ต้องไม่เล็กกว่า 1 ใน 250
– แบบแปลนสำหรับการเปลี่ยนการใช้อาคาร ให้แสดงส่วนที่ใช้อยู่เดิม และส่วนที่จะเปลี่ยนการใช้ใหม่ให้ชัดเจน
– รายการประกอบแบบแปลน ให้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับคุณภาพและชนิดของวัสดุ ตลอดจนวิธีปฏิบัติ หรือวิธีการสำหรับการก่อสร้างอาคาร
– รายการคำนวณให้แสดงวิธีการตามหลักวิศวกรรมศาสตร์

5.10 ผู้รับผิดชอบงานออกแบบหรือผู้รับผิดชอบงานออกแบบและคำนวณ ต้องลงลายมือชื่อพร้อมกับเขียนชื่อตัวบรรจง ที่อยู่พร้อมกับคุณวุฒิของผู้รับผิดชอบดังกล่าวไว้ในแผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน และรายการคำนวณแต่ละชุดด้วย ผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมวิศวกรรมควบคุมให้ระบุเลขทะเบียนในใบอนุญาตไว้ด้วย

6. ค่าธรรมเนียมค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต

  • ใบอนุญาตก่อสร้าง ฉบับละ 20 บาท
  • ใบอนุญาตดัดแปลง ฉบับละ 10 บาท
  • ใบอนุญาตรื้อถอน ฉบับละ 10 บาท
  • ใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้ ฉบับละ 20 บาท
  • ใบรับรอง ฉบับละ 10 บาท
  • ใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนใบรับรอง ฉบับละ 5 บาท

ค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาต

  • ใบอนุญาตก่อสร้าง ฉบับละ 20 บาท
  • ใบอนุญาตดัดแปลง ฉบับละ 10 บาท
  • ใบอนุญาตรื้อถอน ฉบับละ 10 บาท
  • ใบอนุญาตเคลื่อนย้าย ฉบับละ 10 บาท
  •  ค่าธรรมเนียมการตรวจแบบแปลนก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร
    • 1. อาคารไม่เกิน 2 ชั้น สูงไม่เกิน 12 เมตร ตร.ม. ละ 50 สตางค์
    • 2. อาคารไม่เกิน 3 ชั้น และสูงเกิน 12 เมตร แต่ไม่เกิน 15 เมตร ตร.ม. ละ 12 บาท
    • 3. อาคารสูงเกิน 3 ชั้น หรือสูงเกิน 15 เมตร ตร.ม. ละ 4 บาท
    • 4. ป้าย ตร.ม. ละ 4 บาท สำหรับประชาชนในเขตเทศบาลตำบลธัญบุรี ก่อนดำเนินการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนต่อเติมหรือการเคลื่อนย้าย อาคารต่าง ๆ ในเขตเทศบาล โปรดติดต่อขออนุญาตได้ที่กองช่าง เมื่อท่านทำการก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จให้ท่านยื่นคำร้องขอหมายเลขประจำบ้านได้ที่งานทะเบียนราษฎร์เทศบาลตำบลธัญบุรี

7. บทกำหนดโทษ

7.1 ผู้ใดก่อสร้าง ดัดแปลง เคลื่อนย้ายอาคารโดยเจ้าของอาคารไม่ได้รับอนุญาตจากเทศบาล หรือผู้ใดก่อสร้างดัดแปลง รื้อถอนอาคาร ให้ผิดไปจากที่ได้รับอนุญาต ตลอดจนเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ใน ใบอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

7.2 ผู้ใดได้รับคำสั่งจากเทศบาลฯ และฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าว นอกจากต้องระวางโทษปรับตามข้อ 1 แล้วยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน

7.3 ถ้าเป็นการกระทำเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา หรือสาธารณสุข หรือเป็นการกระทำในทางการค้าเพื่อให้เช่าหรือซื้อขาย หรือจำหน่าย โดยมีค่าตอบแทน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้ สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับ

7.4 การปลูกสร้างโดยต่อเติม หรือดัดแปลงอาคาร ซึ่งจำต้องได้รับอนุญาตนั้นมีกำหนด ดังต่อไปนี้

  • ขยายพื้นชั้นหนึ่งชั้นใดตั้งแต่ 5 ตารางเมตร
  • เปลี่ยนหลังคา หรือขยายหลังคาให้ปกคลุมเนื้อที่มากขึ้นกว่าเดิม
  • เพิ่ม ลดจำนวน หรือเปลี่ยนเสา คาน บันได และผนัง